เมนู

2. สามัญญผลสูตร


( 9 ) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ สวนอัมพวันของหมอ
ชีวกโกมารภัจ กรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ
1,250 รูป วันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันครบรอบ
4 เดือนฤดูดอกโกมุทบาน ในราตรีเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง พระเจ้า
แผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร แวดล้อมด้วยราช-
อำมาตย์ ประทับนั่ง ณ มหาปราสาทชั้นบน ขณะนั้น ท้าวเธอทรง
เปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ราตรีมีพระจันทร์แจ่มกระจ่าง
น่ารื่นรมย์หนอ ราตรีมีพระจันทร์แจ่มกระจ่าง ช่างงามจริงหนอ ราตรี
มีพระจันทร์แจ่มกระจ่าง น่าชมจริงหนอ ราตรีมีพระจันทร์แจ่มกระจ่าง
น่าเบิกบานจริงหนอ ราตรีมีพระจันทร์แจ่มกระจ่าง เข้าลักษณะจริงหนอ
วันนี้เราควรจะเข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ใดดี ที่จิตของเราผู้เข้า
ไปหาพึงเลื่อมใสได้ ครั้นท้าวเธอมีพระราชดำรัสอย่างนี้แล้ว ราชอำมาตย์
ผู้หนึ่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ท่านปูรณกัสสป ปรากฏ
ว่าเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ
มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่ บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมา
โดยลำดับ ขอพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านปูรณกัสสปนั้นเถิด เห็นด้วย
เกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านปูรณกัสสป พระหฤทัยพึง
เลื่อมใส เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอทรงนิ่งอยู่

ราชอำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ท่านมักขลิโคสาล ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อ
เสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่
บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ขอพระองค์เสด็จเข้าไป
หาท่านมักขลิโคสาลนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้า
ไปหาท่านมักขลิโคสาล พระหฤทัยพึงเลื่อมใส เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูล
อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่.
ราชอำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ท่านอชิตเกสกัมพล ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มี
ชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่
บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ขอพระองค์เข้าไปหา
ท่านอชิตเกสกัมพลนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไป
หาท่านอชิตเกสกัมพล พระหฤทัยพึงเลื่อมใส เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูล
อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอทรงนิ่งอยู่.
ราชอำมาตย์อีกคนหนึ่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ท่านปกุทธกัจจายนะ ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มี
ชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่
บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ขอพระองค์เสด็จเข้าไปหา
ท่านปกุธกัจจายนะนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไป
หาท่านปกุธกัจจายนะ พระหฤทัยพึงเลื่อมใส เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นกราบทูล
อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่.
ราชอำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

ท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตร ปรากฏว่า เป็นเจ้าหมู่คณะ เจ้าคณะ เป็นคณา-
จารย์มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็น
คนเก่าแก่ บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ขอพระองค์
เสด็จเข้าไปหาท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตรนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อ
พระองค์เสด็จเข้าไปหาท่านนิครนถนาฏบุตร พระหฤทัยพึงเลื่อมใส เมื่อ
อำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่
ราชอำมาตย์อีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ท่านนิครนถนาฏบุตร ปรากฏว่าเป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์
มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคนเก่าแก่
บวชมานาน มีอายุล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ขอพระองค์เสด็จเข้าหา
ท่านนิครนถนาฏบุตรนั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้า
ไปหาท่านนิครนถนาฏบุตร พระหฤทัยพึงเลื่อมใส เมื่ออำมาตย์ผู้นั้น
กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอก็ทรงนิ่งอยู่.
( 92) สมัยนั้น หมอชีวก โกมารภัจ นั่งนิ่งอยู่ในที่ไม่ไกล
พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ท้าวเธอจึงมี
พระราชดำรัสกะหมอชีวก โกมารภัจ ว่า ชีวกผู้สหาย ทำไมเธอจึงนิ่ง
เสียเล่า หมอชีวก โกมารภัจ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
พระผู้มีภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ สวนอัมพวันของ
ข้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 1,250 รูป พระ
เกียรติศัพท์อันงามของพระองค์ ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็นสารถีฝึกคน

ที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
ผู้ปลุกให้ตื่น เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ขอพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นเถิด เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระหฤทัยพึงเลื่อมใส ท้าวเธอจึงมีพระ
ราชดำรัสว่า ชีวกผู้สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงสั่งให้เตรียมหัตถียานไว้
หมอชีวก โกมารภัจ รับพระราชโองการแล้ว สั่งให้เตรียมช้างพังประมาณ
500 เชือก และช้างพระที่นั่งเสร็จแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์สั่งให้เตรียมหัตถียานพร้อมแล้ว เชิญพระองค์
เสด็จได้แล้ว พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้นแล พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร โปรดให้พวกสตรี
ขึ้นช้างพัง 500 เชือก เชือกละนาง ๆ แล้วจึงทรงช้างพระที่นั่ง มีผู้
ถือคบเพลิง เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ด้วยพระราชานุภาพอันยิ่ง
ใหญ่ เสด็จไปสวนอัมพวันของหมอชีวก โกมารภัจ ครั้นใกล้จะถึง
สวนอัมพวัน ท้าวเธอทรงหวาดหวั่น ครั่นคร้าม สยดสยอง ครั้นท้าวเธอ
ทรงกลัว หวาดหวั่น มีพระโลมชาติชูชันแล้ว จึงมีพระราชดำรัสกะ
หมอชีวก โกมารภัจว่า ชีวกผู้สหาย ท่านไม่ได้ลวงเราหรือ ชีวกผู้สหาย
ท่านไม่ได้หลอกเราหรือ ชีวกผู้สหาย ท่านไม่ได้ล่อเรามาให้ข้าศึกหรือ
ไฉนเล่าภิกษุหมู่ใหญ่ถึง 1,250 รูป จึงไม่มีเสียงจาม เสียงกระแอม
เสียงพึมพำเลย หมอชีวก โกมารภัจ กราบทูลว่า ข้าแต่พระราชาผู้ยิ่งใหญ่
ขอพระองค์อย่าทรงหวาดหวั่นเกรงกลัวเลย พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้
สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ลวงพระองค์ ไม่ได้หลอกพระองค์ ไม่ได้
ล่อพระองค์มาให้ข้าศึกเลย พระเจ้าข้า ขอเชิญเสด็จเข้าไปเรื่อย ๆ เถิด

พระเจ้าข้า นั่นประทีปที่โรงกลมยังตามอยู่ ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จ
พระราชดำเนินโดยกระบวนข้างพระที่นั่งไปจนสุดทาง เสด็จลงจากช้าง
พระที่นั่ง ทรงดำเนินเข้าประตูโรงกลม แล้วจึงมีพระราชดำรัสกะหมอ
ชีวก โกมารภัจ
ว่า ชีวกผู้สหาย ไหนพระผู้มีพระภาคเจ้า หมอชีวก
โกมารภัจ
กราบทูลว่า ขอเดชะ นั่นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งพิง
เสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา ภิกษุสงฆ์แวดล้อมอยู่.
ลำดับนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ทรงชำเลือง
เห็นภิกษุสงฆ์นั่งสงบเหมือนห้วงน้ำใส ทรงเปล่งพระอุทานว่า ขอให้
อุทัยภัทกุมารของเราจงมีความสงบอย่างภิกษุสงฆ์เดี๋ยวนี้. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาทั้งความรัก ทูลรับว่า
พระเจ้าข้า อุทัยภัทกุมารเป็นที่รักของหม่อมฉัน ขอให้อุทัยภัทกุมาร
ของหม่อมฉัน จงมีความสงบอย่างภิกษุสงฆ์เดี๋ยวนี้เถิด พระเจ้าข้า.
(93) ลำดับนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว ทรงน้อมถวายอัญชลีแด่ภิกษุสงฆ์ ประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะขอทูลถามปัญหาบางเรื่องสักเล็กน้อย ถ้าพระ
องค์จะประทานพระวโรกาสพยากรณ์ปัญหาแก่หม่อมฉัน. พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสว่า เชิญถามเถิดมหาบพิตร ถ้าทรงพระประสงค์. พระเจ้า
อชาตศัตรู ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก
เหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู พนักงานเชิญธง พนักงานจัด
กระบวนทัพ พนักงานจัดส่งสะเบียง พวกอุคคราชบุตร พลอาสา ขุนพล

พลกล้า พลสวมเกราะหนัง พวกบุตรทาส พวกทำขนม ช่างกัลบก
พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างหู ช่างจักสาน
ช่างหม้อ นักคำนวณ พวกนับคะแนน หรือศิลปศาสตร์เป็นอันมาก แม้
อย่างอื่นใด ที่มีคติเหมือนอย่างนี้ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์
ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อม
บำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ
บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็น
ผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์อาจทำให้รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือน
ฉันนั้นได้หรือไม่.
พ. มหาบพิตร พระองค์ทรงจำได้หรือไม่ว่า ปัญหาข้อนี้ มหาบพิตร
ได้ตรัสถามสมณพราหมณ์แม้พวกอื่นแล้ว.
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจำได้ ปัญหาข้อนี้หม่อมฉัน
ได้ถามสมณพราหมณ์พวกอื่นแล้ว.
พ. มหาบพิตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นพยากรณ์อย่างไร ถ้ามหา-
บพิตรไม่หนักพระทัย ก็ตรัสเถิด.
อ. ณ ที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือท่านผู้เปรียบดังพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ประทับนั่งอยู่ หม่อมฉันไม่หนักใจ พระเจ้าข้า.
พ. ถ้าอย่างนั้น โปรดมีพระดำรัสเถิด.
(94) อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้
หม่อมฉันเข้าไปหาครูปูรณกัสสป ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับครูปูรณกัสสป
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นแล้ว หม่อมฉันได้กล่าวคำนี้กะครูปูรณกัสสปว่า ท่านกัสสป
ผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู
พนักงานเชิญธง พนักงานจัดกระบวนทัพ พนักงานจัดส่งเสบียง พวก
อุคคราชบุตร พลอาสา ขุนพล พลกล้า พลสวมเกราะหนัง พวกบุตร
ทาส พวกทำขนม ช่างกัลบก พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่าง
ดอกไม้ ช่างย้อม ช่างหูก ช่างจักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณ พวกนับ
คะแนน หรือศิลปศาสตร์เป็นอันมาก แม้อย่างอื่นใด ที่มีคติเหมือนอย่างนี้
คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน
ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร
สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทาน อันมีผลอย่างสูง
เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านกัสสปผู้เจริญ ท่านอาจทำให้รู้ถึงสามัญญผล
ที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าว
อย่างนี้ ครูปูรณกัสสปได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า มหาบพิตร เมื่อบุคคล
ทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่น
เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขา
ให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้เขาดิ้นรน
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้น ไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลัง
เดียว ดักปล้นในทางเปลี่ยว ทำชู้ภริยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป
แม้หากผู้ใดจะใช้จักร ซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์
ในปัฐพีนี้ ให้เป็นลานเนื้อหนึ่ง ให้เป็นกองเนื้อหนึ่ง บาปที่มีการทำ
เช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไป

ยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ
ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่
น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำ
เช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ ด้วยการ
ฝึกอินทรีย์ การสำรวมศีล การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ
ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อม
ฉันถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูปูรณกัสสป กลับตอบถึงการที่ทำ
แล้วไม่เป็นอันทำ ฉะนี้ เปรียบเหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ
หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง แม้ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เหมือนหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูปูรณกัสสปกลับตอบ
ถึงการที่ทำแล้วไม่เป็นอันทำ ฉันนั้นทีเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม
ฉันได้มีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์
ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของครูปูรณกัสสป
ไม่พอใจก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจา
นั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(95) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูมักขลิโคสาล ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับครูมักขลิโคสาล
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้ว หม่อมฉันได้กล่าวคำนี้กะครูมักขลิโคสาลว่า ท่านโคสาล
ผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล ฯ คนเหล่า
นั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผล

แห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย
ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ฉันใด ท่านอาจทำให้รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือน
ฉันนั้นได้หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูมักขลิโคสาลได้กล่าว
คำนี้กะหม่อมฉันว่า มหาบพิตร ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมอง
ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมเศร้าหมอง
ย่อมไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์ ไม่มีการกระทำของตนเอง
ไม่มีการกระทำของผู้อื่น ไม่มีการกระทำของบุรุษ ไม่มีกำลัง ไม่มีความ
เพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง
ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี
ความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ตามความประจวบ ตามความ
เป็นเอง ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ ในอภิชาติทั้ง 6 เท่านั้น อนึ่ง กำเนิดที่
เป็นประธาน 1,406,000 กรรม 500 กรรม 5 กรรม 3 กรรม 1
ธรรมกึ่ง ปฏิปทา 62 อันตรกัป 62 อภิชาติ 6 ปุริสภูมิ 8 อาชีวก
4,900 ปริพาชก 4,900 นาควาส 4,900 อินทรีย์ 2,000 นรก
3,000 รโชธาตุ 36 สัญญีครรภ์ 7 อสัญญีครรภ์ 7 นิคัณฐีครรภ์ 7
เทวดา 7 มนุษย์ 7 ปีศาจ 7 สระ 7 ปวุฏะ 7 ปวุฏะ 700 เหวใหญ่
7 เหวน้อย 700 สุบิน 7 สุบิน 700 จุลมหากัป 8,000,000 เหล่านี้
ที่พาลและบัณฑิต เร่ร่อน ท่องเที่ยวไป แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความ
สมหวังว่า เราจักอบรมกรรมที่ยังไม่อำนวยผล ให้อำนวยผล หรือเรา

สัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผลแล้ว จักทำให้สุดสิ้น ด้วยศีล ด้วยพรต
ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ ไม่มีในที่นั้น สุขทุกข์ทำให้สิ้นสุดได้
เหมือนดวงของให้หมดด้วยทะนาน ย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย
ไม่มีความเสื่อมความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนลง พาลและบัณฑิต
เร่ร่อน ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้ เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป
ย่อมคลี่ขยายไปเอง ฉะนั้น ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถาม
ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูมักขลิโคสาลกลับพยากรณ์ถึงความบริ-
สุทธิ์ด้วยการเวียนว่าย เหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือ
เขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง แม้ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
หม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูมักขลิโคสาลกลับพยากรณ์
ถึงความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่าย ฉันนั้นทีเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
หม่อมฉันได้มีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครู
มักขลิโคศาล ไม่พอใจ ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ
ไม่คัดค้านวาจานั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(96) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูอชิตเกสกัมพล ถึงที่อยู่ ๆ ล ฯ ครั้นแล้วหม่อมฉันได้กล่าว
คำนี้กะครูอชิตเกสกัมพลว่า ท่านอชิตผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก
เหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล ฯ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์
ที่เห็นประจักษ์ เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อม
บำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ
บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็น

ผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจทำให้
รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่ เมื่อ
หม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูอชิตเกสกัมพลได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
มหาบพิตร ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบาก
แห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาบิดาไม่มีคุณ
สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำ
โลกนี้และโลกอื่นให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
ไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้ง 4 เมื่อทำกาลกิริยา ธาตุ
ดินไปตานธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลม
ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลายมี
เตียงเป็นที่ 5 จะหามเขาไป ร่างกายปรากฏอยู่แต่ป่าช้า กลายเป็นกระดูก
มีสีดุจสีนกพิราบ การเช่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้
คำของคนบางพวกพูดว่า มีผล ๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อเพราะ
กายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อม
ไม่เกิด ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ ครูอชิตเกสกัมพลกลับตอบถึงความชาดสูญ เหมือนเขาถามถึง
มะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง
แม้ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ ครูอชิตเกสกัมพลกลับตอบถึงความขาดสูญ ฉันนั้นทีเดียว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้มีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่ง
รุกรานสมณะ หรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่
คัดค้านภาษิตของครูอชิตเกสกัมพล ไม่พอใจ ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความ

ไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจานั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(97) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูปกุทธกัจจายนะถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้วหม่อมฉันได้กล่าว
คำนี้กะครูปกุทธกัจจายนะว่า ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็น
อันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล ฯ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่ง
ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น
เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำ
สำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจ
ทำให้รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่
เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูปกุทธกัจจายนะ ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
มหาบพิตร สภาวะ 7 กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ
ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีใครให้เนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งมั่นดุจเสาระเนียด สภาวะ 7 กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน
ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์
แก่กันและกัน สภาวะ 7 กองเป็นไฉน คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ
กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ 7 สภาวะ 7 กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบ
อย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งมันดุจเสาระเนียด สภาวะ 7 กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน
ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์
แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี
ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดี ไม่มีในสภาวะ 7 กองนั้น ด้วยว่า

บุคคลจะเอาศาสตราอย่างคมตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใคร ๆ ปลงชีวิตใคร ๆ
เป็นแต่ศาตราสอดเข้าไปตามช่องแห่งสภาวะ 7 กองเท่านั้น ดังนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูปกุทธกัจ-
จายนะ
กลับเอาเรื่องอื่นมาพยากรณ์ เหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุน
สำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง แม้ฉันใด ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูปกุทธ-
กัจจายนะ
กลับเอาเรื่องอื่นมาพยากรณ์ ฉันนั้นทีเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้-
เจริญ หม่อมฉันได้มีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกรานสมณะ
หรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิต
ของครูปกุทธกัจจายนะ ไม่พอใจ ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ
ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจานั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(98) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูนิครนถนาฏบุตรถึงที่อยู่ ฯ ล ฯ ครั้นแล้วหม่อมฉันได้กล่าว
คำนี้กะครูนิครนถนาฏบุตรว่า ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็น
อันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่ง
ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น
เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำ
สำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจ
ทำให้รู้ถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่
เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูนิครนถนาฏบุตรได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
มหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร 4 ประการ

นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร 4 ประการ เป็นไฉน มหาบพิตร
นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง 1 เป็นผู้ประกอบด้วยน้ำทั้งปวง 1
เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง 1 เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง 1 นิครนถ์เป็น
ผู้สังวรแล้วด้วยสังวร 4 ประการ อย่างนี้แล มหาบพิตร เพราะเหตุที่
นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร 4 ประการอย่างนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า
เป็นผู้มีตนถึงที่สุดแล้ว มีตนสำรวมแล้ว มีตนตั้งมั่นแล้ว ดังนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูนิครนถ-
นาฏบุตร
กลับตอบถึงสังวร 4 ประการ ฉะนี้ เหมือนเขาถามถึงมะม่วง
ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง แม้ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมือหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครู
นิครนถนาฏบุตร
กลับตอบถึงสังวร 4 ประการ ฉันนั้นทีเดียว ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้มีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกราน
สมณะหรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้าน
ภาษิตของครูนิครนถนาฏบุตร ไม่พอใจ ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความ
ไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจานั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(99) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูสญชัยเวลัฏฐบุตรถึงที่อยู่ ฯ ล ฯ ครั้นแล้วหม่อมฉันได้กล่าว
คำนี้กะครูสญชัยเวลัฏฐบุตรว่า ท่านสญชัยผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็นอัน
มากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล ๆ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่ง
ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์
นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุข
อิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันที่ผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้

อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด
ท่านอาจทำให้รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้
หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูสญชัยเวลัฏฐบุตรได้กล่าวคำนี้
กะหม่อมฉันว่า ถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า โลกอื่นมีอยู่หรือ ถ้า
อาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่า
อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่
ถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า โลกอื่นไม่มีหรือ ถ้าอาตมภาพมีความ
เห็นว่าไม่มี ก็จะพึงทูลตอบว่าไม่มี....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่าโลกอื่นมีด้วย
ไม่มีด้วยหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า มีด้วยไม่มีด้วย ก็จะพึงทูล
ตอบว่า มีด้วยไม่มีด้วย... ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า โลกอื่นมีก็มิใช่ ไม่มี
ก็มิใช่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ก็จะพึงทูล
ตอบว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นมี
หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี.. .ถ้ามหาบพิตร
ตรัสถามว่า สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มีหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่าไม่มี
ก็จะพึงทูลตอบว่าไม่มี....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มี
ด้วยหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า มีด้วยไม่มีด้วย ก็จะพึงทูลตอบว่า
มีด้วยไม่มีด้วย....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้น มีก็มิใช่ ไม่มี
ก็มิใช่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ก็จะพึงทูล
ตอบว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า ผลวิบากแห่งกรรม
ที่ทำดีทำชั่วมีอยู่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี.. .
ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มีหรือ ถ้า
อาตมภาพมีความเห็นว่าไม่มี ก็จะพึงทูลตอบว่าไม่มี... ถ้ามหาบพิตรตรัส

ถามว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีด้วยไม่มีด้วยหรือ ถ้าอาตมภาพมี
ความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย ก็จะพึงทูลตอบว่า มีด้วย ไม่มีด้วย ถ้า
มหาบพิตรตรัสถามว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่
หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ก็จะพึงทูลตอบว่า
มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่....ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
เกิดอีกหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า เกิดอีก ก็จะพึงทูลตอบว่า เกิดอีก
... ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ไม่เกิดหรือ ถ้าอาตม-
ภาพมีความเห็นว่า ไม่เกิด ก็จะพึงทูลตอบว่า ไม่เกิด.. .ถ้ามหาบพิตรตรัส
ถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายเกิดด้วย ไม่เกิดด้วยหรือ ถ้าอาตมภาพมี
ความเห็นว่า เกิดด้วยไม่เกิดด้วย ก็จะพึงทูลตอบว่า เกิดด้วย ไม่เกิดด้วย
... ถ้ามหาบพิตรตรัสถานว่า สัตว์เบื้องหน้าแค่ทาย เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็
มิใช่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ก็จะพึง
ทูลตอบว่า เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่... อาตมภาพมีความเห็นว่า อย่างนี้
ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครู
สญชัยเวลัฏฐบุตร
กลับตอบส่ายไปฉะนี้ เหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบ
ขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง แม้ฉันใด ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญ ผลที่เห็นประจักษ์ ครูสญชัย-
เวลัฏฐบุตร
กลับตอบส่ายไป ฉันนั้นทีเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม
ฉันได้มีความดำริว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านี้ ครูสญชัยเวลัฏฐบุตร
นี้ โง่กว่าเขาทั้งหมด งมงายกว่าเขาทั้งหมด เพราะเมื่อหม่อมฉันถามถึง
สามัญญผลที่เห็นประจักษ์อย่างไร จึงกลับตอบส่ายไป หม่อมฉันได้มีความ

ดำริว่า ไฉนคนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ ผู้อยู่ในราช-
อาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครูสญชัยเวลัฏฐบุตร
ไม่พอใจ ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจา
นั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(100) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นขอทูลถามพระผู้มี
พระภาคเจ้า
บ้างว่า ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ ทหารช้าง ทหาร
ม้า ทหารรถ ทหารธนู ทหารเชิญธง ทหารจัดกระบวนทัพ ทหาร
หน่วยส่งเสบียง พวกอุคคราชบุตร ทหารหน่วยอาสา แม่ทัพนายกอง
หน่วยทหารหาญ ทหารสวมเกราะหนัง ทหารรับใช้ หน่วยทำขนม หน่วย
ซักฟอก หน่วยตัดผม หน่วยทำครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างทอ ช่าง
จักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณ พวกนับคะแนน หรือศิลปศาสตร์เป็น
อันมาก แม้อย่างอื่นใด ที่มีคติเหมือนอย่างนี้ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผล
แห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลป -
ศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็น
สุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทำให้รู้สามัญญผลที่เห็นประจักษ์ใน
ปัจจุบันเหมือนฉันนั้นได้หรือไม่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อาจอยู่มหาบพิตร แต่ในข้อนี้
ตถาคตจะขอย้อนถามมหาบพิตรก่อน โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย
มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน สมมติว่า มหาบพิตรพึง
มีบุรุษผู้เป็นทาสกรรมกร มีปกติตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังพระบัญชาว่า

จะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติถูกพระทัย พูดจาไพเราะ คอยเฝ้าสังเกต
พระพักตร์ เขาจะมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า คติของบุญ วิบากของบุญ
น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริงพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า
อชาตศัตรูเวเทหิบุตร พระองค์นี้ เป็นมนุษย์ แม้เราก็เป็นมนุษย์ แต่
พระองค์ท่านทรงเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับบำเรออยู่ด้วยเบญจกามคุณ
ประหนึ่งเทพเจ้า ส่วนเราสิเป็นทาสรับใช้ของพระองค์ท่านต้องตื่นก่อน
นอนทีหลัง ต้องคอยฟังพระบัญชาว่า จะโปรดให้ทำอะไร ต้องประพฤติ
ให้ถูกพระทัย ต้องพูดจาไพเราะ ต้องคอยเฝ้าสังเกตพระพักตร์ เราพึง
ทำบุญ จะได้เป็นเหมือนพระองค์ท่าน อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขา
ปลงผมและหนวด นุ่งห่ม ผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต ครั้น
บวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความ
มีเพียงอาหาร และผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด ถ้าพวก
ราชบุรุษพึงกราบทูลถึงพฤติการณ์ของเขาอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์
พึงทรงทราบเถิด บุรุษผู้เป็นทาสกรรมกรของพระองค์ ผู้ตื่นก่อนนอน
ทีหลัง คอยฟังพระบัญชาว่า จะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติถูกพระทัย
พูดจาไพเราะ คอยเฝ้าสังเกตพระพักตร์อยู่นั้น เขาปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้
สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหาร
เละผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด มหาบพิตรจะพึงตรัส
อย่างนี้เทียวหรือว่า พ่อมหาจำเริญคนนั้นของข้ามาสิ จงมาเป็นทาสเป็น
กรรมกรของข้า จงตื่นก่อนนอนทีหลัง จงคอยฟังบัญชาว่าจะให้ทำอะไร

ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะ คอยเฝ้าสังเกตดูหน้าข้าอีกตามเดิม.
พระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เลย พระเจ้าข้า อันที่
จริงข้าพระองค์เสียอีก ควรจะไหว้เขา ควรจะลุกรับเขา ควรจะเชื้อเชิญ
ให้เขานั่ง ควรจะบำรุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ควรจะจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม.
มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อ
เป็นเช่นนั้น สามัญญผลที่เห็นประจักษ์จะมีหรือไม่.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญญผลที่เห็นประจักษ์
มีอยู่อย่างแน่แท้.
มหาบพิตร นี่แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ซึ่งตถาคต
ทำให้รู้เป็นข้อแรก.
(101) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทำให้รู้สามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ในปัจจุบันแม้ข้ออื่นให้เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่.
อาจอยู่ มหาบพิตร แต่ในข้อนี้ตถาคตจักขอย้อนถามมหาบพิตรก่อน
โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัย
ความข้อนั้นเป็นไฉน สมมติว่า มหาบพิตรพึงมีบุรุษเป็นชาวนา คฤหบดี
ซึ่งเสียภาษีอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า คติ
ของบุญ วิบากของบุญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริงพระเจ้า
แผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหิบุตร พระองค์นี้เป็นมนุษย์
แม้เราก็เป็นมนุษย์ แต่พระองค์ท่านทรงเอิบอิ่มพรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วย
เบญจกามคุณดุจเทพเจ้า ส่วนเราสิเป็นชาวนาคฤหบดี ต้องเสียภาษีอาการ
เพิ่มพูนพระราชทรัพย์ เราพึงทำบุญจะได้เป็นเหมือนพระองค์ท่าน อย่า

กระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็น
บรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่
ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อ
บวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความ
มีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด ถ้าพวกราช
บุรุษพึงกราบทูลพฤติการณ์ของเขาอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์พึงทรง
ทราบเถิด บุรุษผู้เป็นชาวนาคฤหบดี ซึ่งเสียภาษีอากรเพิ่มพูนพระราช
ทรัพย์ของพระองค์อยู่นั้น เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เขาเป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา
สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง
ยินดียิ่งในความสงัด มหาบพิตรจะพึงตรัสอย่างนี้เทียวหรือว่า พ่อมหา-
จำเริญคนนั้นของข้ามาสิ จงเป็นชาวนาคฤหบดี เสียภาษีอากรเพิ่มพูน
ทรัพย์อีกตามเดิม.
จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เลย พระเจ้าข้า อันที่จริงหม่อมฉันเสียอีก ควร
จะไหว้เขา ควรลุกรับเขา ควรจะเชื้อเชิญเขาให้นั่ง ควรจะบำรุงเขาด้วย
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ควรจะจัดการ
รักษาป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม.
มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อ
เป็นเช่นนั้น สามัญญผลที่เห็นประจักษ์จะมีหรือไม่.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญญผลที่เห็นประจักษ์
มีอยู่อย่างแน่แท้.
มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ซึ่งตถาคต

ทำให้รู้ถวายมหาบพิตรเป็นข้อที่ 2.
(102) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทำให้รู้สามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ในปัจจุบันแม้ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า สามัญญผลที่
เห็นประจักษ์เหล่านี้ ได้หรือไม่.
อาจอยู่ มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรจงคอยสดับ จงตั้ง
พระทัยให้ดี ตถาคตจักแสดง.
ครั้นพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหิบุตร ทูล
สนองพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
มหาบพิตร พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็น
สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระ
องค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้ง
ชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์พร้อม
ทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้
เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้
ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาส
คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้
ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์
ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาว-

พัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่
ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออก
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อม
ด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมที่เป็นกุศล
มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.

จุลศีล


(103) มหาบพิตร อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
วางไม้ วางมีด มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์
แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
2. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่
เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
3. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์
ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุน อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็
เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
4. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง
ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้
ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.